Wednesday 1 July 2015

Feeling of color

Feeling of color...
------------------ความรู้สึกของสี--------------
สีดำ (Black) เป็นสีแห่งความตาย ความมืด ความน่ากลัว ความผิด
      พลังแห่งปีศาจ สิ่งเร้นลับอำนาจ....ความข้ม เป็นต้น
      ซึ่งส่วนใหญ่คุณสามารถเห็นงานออกแบบที่ใช้สีดำในโปสเตอร์หนังมักจะออกแบบให้ดูลึกลับ
      น่ากลัว หรือชวนให้เข้าไปค้นหาความจริง
  
สีทอง หรือ สีเหลือง (Gold) เป็นสีที่แสดงถึงความมั่งคั่ง มั่งมี อบอุ่น
      เป็นมิตร สร้างสรรค์ หรือนักคิดค้น ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ อิสระ ความเมตตา
      การมองโลกในแง่ดี เป็นต้น แต่ในบางครั้งอาจใช้ใน
      ความหมายทางด้านลบ เช่น ความหึงหวง ขี้อิจฉา ความพิรุธ ความขี้สงสัย หรือ
      การหลอกลวง ก็ได้ในวงการวารสาร สีเหลืองยังหมายถึง ความไม่รับผิดชอบ อีกด้วย
สีแดง (Red) เป็นสีที่แสดงถึง ความร้อนแรง อันตราย เรื่องเร่งด่วน ฉุกเฉิน
      ความตื่นเต้นความรัก โรแมนติก ความเจ็บปวด ความเผ็ดร้อน ความทรงจำ
      ความกล้าหาญ ความเป็นเจ้าของความทะเยอทะยาน พลังแห่ง Sex...
      ในหลายประเทศจะใช้สีแดงในความหมายต่างกัน เช่น กรีกสีแดงจะหมายถึง
      การต่อสู้รบราฆ่าฟัน แต่ประเทศแอฟริกาใต้ จะหมายถึง ความเศร้าโศก..
  
สีเทา (Gray) เป็นสีที่แสดงถึง ความมั่นคง ปลอดภัย สม่ำเสมอ ผู้ที่มีอำนาจ
      บุคลิกที่แข็งแกร่งความคลาสสิค ความตกต่ำ ความรู้สึกหดหู่ มัวหมอง
      
สีขาว (White) เป็นสีที่แสดงถึงความบริสุทธิ์ สะอาด ผ่องใส ความหวัง
      ความถูกต้อง ความจริงการไว้ทุกข์ ความช่วยเหลือ ความเรียบง่าย ความเรียบร้อย
             
สีน้ำเงิน (Blue) เป็นสีที่แสดงถึง ความมั่นคง ความสม่ำเสมอ เสถียรภาพ
      ความแน่นอน ความแข็งแรง ความเป็นผู้นำ น้ำ ความเย็น ความสะอาดสะอ้าน ความสบาย
      ความไว้วางใจ คลาสสิค...
      ความรู้สึกอ่อนไหว ห้วงอารมณ์ ในประเทศจีน สีน้ำเงิน หมายถึง
      เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ ในขณะที่ในอิหร่าน จะหมายถึง การไว้ทุกข์ 
              
สีม่วง (Purple) เป็นสีที่แสดงถึง ความเป็นเจ้านาย กษัตรย์ การฑูต แฟชั่น
      เกย์ ในสหรัฐจะใช้สีม่วงสำหรับทหารที่ถูกฆ่า ในขณะที่ลีโอนาโด นาวินซี
      จิตกรชื่อดัง กล่าวว่าสีม่วงอ่อนจะทำให้เขามีพลังทางความคิดมากขึ้น
      และหากนำสีม่วงเป็นสีห้องสำหรับเด็ก จะทำให้เด็กเกิดจินตนการ
              
สีน้ำตาล (Rust) เป็นสีที่แสดงถึง ความสมบุกสมบัน ดิน สนิม ความแห้งแล้ง
      ความเป็นมิตรความซื่อสัตย์ การไว้ใจ น่ารำคาญ ทรมาน เห็นแก่ตัว แข็งแกร่ง... 
สีเขียว (Green) เป็นสีที่แสดงถึงความสดชื่น ต้นไม้ การเจริญเติบโต เงิน
      ความหนุ่มสาวสิ่งแวดล้อม การผ่อนคลาย ความเป็นธรรมชาติ
      และสีเขียวยังเป็นสีประจำชาติของประเทศไอร์แลนด์ อีกด้วย
     
สีชมพู (Pink) เป็นสีที่แสดงถึง ความเป็นผู้หญิง อ่อนไหว ความรัก
      ความนุ่มนวล น่ารัก วัยหวานสุภาพอ่อนโยน ทะนุถนอม ขี้อาย
       สีส้ม
        
สีส้ม (orange) เป็นสีที่แสดงถึง แรงบันดาลใจเต็มเปี่ยม พลัง ความสำคัญ
      ความอบอุ่น ความกรุณา หยิ่งยโส จองหอง มีทิฐิ...
(ขออภัยพอดีข้อมูลนี้ดูดมานานไม่สามารถหาเครดิคได้เลยมาขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย)

อ้างอิ้งอื่นๆ

Colors(สร้างตารางสี)=การผสมสีสำคัญแค่ไหน?

Colors (ตารางสี )

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจนิดหน่อยสำหรับเอนทรี่นี้ หลังจากที่สมัยก่อนเคยเขียนมาเกี่ยวกับเรื่องของสีโดยอ้างอิงจากหนังสือ "เรียนรู้ทฤษฎีสี  ของคุณ ทวีเดช จิ๋วบาง" และเขียนไว้สั้นๆอาจจะทำให้บางคนเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างเพราะเราไม่ได้นำภาพมาโชว์ให้เห็น มาคราวนี้ก็ขอมาขยายความทำความเข้าใจกันอีกครั้ง(แก้ตัวนะเอง)
-------------------------------------
ปล. เราจะเขียนตามความเข้าใจที่ตนเองรับรู้มาและจะพยายามบรรยายในแบบของเราเพื่อให้ทุกคนเข้าใจจ่ะ


บางคนอาจเข้าใจว่า "ทำไมต้องเรียนรู้เรื่องพวกนี้ด้วยล่ะ แค่ลงมือทำบ่อยๆก็เก่งเองไม่ใช่รึ" มันก็ถูกการจะเก่งขึ้นได้นั้นต้องอาศัยการลงมือทำ ไม่ว่าจะเล่นดนตรี การอ่าน การทำความเข้าใจเมื่อเราทำมันบ่อยๆจะเกิดความชำนาญเอง 
เหมือนการทบทวนตำราบ่อยครั้งก็จะทำให้จำได้โดยไม่ต้องเปิดอ่านอีก

**มาเข้าเรื่องของหัวข้อ**
จะทำอย่างไรให้เข้าใจเรื่องสีโดยไว? จะทำอย่างไร? ให้ว่าควรใช้คู่สีอย่างไรจึงจะเหมาะสม
บางคนอาจไปแอบดูงานคนอื่นศิลปินแรงบันดาลใจที่เล่นสีสวยๆ(ก็ได้นะ) แล้วน้องๆหนูหรือคุณๆท่านๆทั้งหลายจะทราบได้ อย่างไรว่าสิ่งเหล่านั้นมาได้อย่างไร? กว่าเขาจะเอาสีมาประกอบคู่กันจนงดงามปานจะกินเราเข้าไปทั้งตัว(เทียบชะ)

เราต้องรู้จักก่อนถึงเรื่องราวต้นตะกูลของสีทวดลุงป้าของสี(เรียนรู้ญาติๆ)
นั่นก็คือสิ่งที่เราจะเรียนรู้ เรื่องราวอันดราม่าของการ  "ผสมสี"

  อ่าว! ทำไมเราต้องเรื่องมาก ต้องไปเรียนรู้เรื่องการผสมสีล่ะในเมื่อก็ซื้อสีตามท้องตลาดได้
(ก็มีมีครบจริงๆนะแหละ)  ทำไมนะรึ? เราจะได้ประหยัด เฮ!ไม่ใช่ๆ

"เราจะได้เข้าใจมวลสีที่เรามองไม่เห็นตามธรรมชาติไงล่ะ"

มวลสีที่ว่านั้น คือสีที่ถูกผสมอยู่ในภาพที่เราเห็น... เช่นเราเห็นภาพนี้ >> 


บางคนที่มองแล้วอาจจะบอกว่าสวยและถ้าถามว่ากลีบดอกมันมีสีอะไร? บางคนอาจจะตอบว่า "ม่วงอ่อน" 
แล้วเราก็เริ่มลงสีด้วยสีม่วงอ่อน ทั้งกลีบและตบสว่างด้วยขาวกับตบเงาด้วยดำผสมเท่านั้น

"แต่ในสายตาของบางคนทำไม?เขาถึงเห็นสีในภาพนี้ต่างกันออกไป เช่นจุดเทา จุดสว่าง อาจมีสีของชมพูอม ส้มอม เขียวเบรก หรืออื่นๆมากมาย.."

นั่นคือสิ่งที่เราจะบอกไงว่า...การฝึกผสมสีคือการเข้าใจเรื่องของสีอย่างแท้จริง และสามารถไปประยุกต์ใช้เพื่อแยกโทนสี ของภาพเพื่อนำมาแยกหมวดใน CMYK (ใช้ในงานกราฟิก) หรือกะวัดด้วยสายตามองชิ้นงานที่ลูกค้าส่งมาเพื่อมาผสมสีในคอมแล้วปริ้นออกมาโดยสีไม่ผิดเพี้ยนจากต้นแบบที่อยู่ในมือเรา
(ที่บอกนี้คือจากประสบการ์ณตรง จากงานกราเม้นกับลูกค้ายุโรป เขาค่อนข้างจริงจังกะเรื่องนี้พอสมควร)



หรือมองสีในภาพนั้นว่ามีสีอะไรบ้างซึ่งไม่ใช่สีที่เด่นชัดสีเดียว แต่เป็นสีที่ถูกผสมในภาพนั้นจนออกมาเป็นภาพที่สวยงามมากๆ

ดั่ง ศิลปิน แว๊นโก๊ะ >>

 ศิลปินผู้เห็นสีที่คนอื่นอาจมองไม่เห็น

พอเห็นภาพกันรึยังว่า "ทำไมต้องฝึกผสมสี"

ถึงจุดนี้แล้วก็ลองฝึกผสมสีกันดูนะ โดยเริ่มจาก "แม่สี" (แนะนำว่าซื้อสีโปสเตอร์ดีกว่าซื้อเป็นสีๆไป)
(ถ้าเป็นสีน้ำ มันจะมาครบทุกสี ซึ่งอาจมีโกงไปนิด)

เหลือง แดง น้ำเงิน  (แม่สีที่ทุกคนรู้จัก)
ซึ่งเราต้องจับมันมาแต่งงานกันเป็นคู่ๆ แล้วดูซิว่าจะได้ลูกๆของมันหน้าตาเช่นไร

เหลือง+แดง =?
แดง+น้ำเงิน =?
เหลือง+น้ำเงิน =?  
------------------------------จากนั้นก็สเตป >>>เหล่าหลานๆของแม่สี
เหลืองมากกว่าแดง?, แดงมากกว่าเหลือง? / แดงมากกว่าน้ำเงิน? , น้ำเงินมากกว่้าแดง? /
เหลืองมากกว่าน้ำเงิน? , น้ำเงินมากกว่าเหลือง?

======
แอบ เฉลย  อย่างเปิดเผย!


หรือไม่ก็ลองผสมให้เหมือนตามตารางนี้ (ซึ่งก็น่าท้าทายดีสำหรับคนที่หัดเริ่ม)

ตารางสี >>>



สเตปที่ยากขึ้นมาหน่อยคือ มีดำผสมและขาวผสมด้วย! >>
ไม่ต้องงงนะ ตรงกลางทำไม สีเทา ที่จริงแล้วเมื่อเราผสมสีทั้งหมดมันก็จะออกเป็นเทาเอง "ซึ่งเรียกว่า สีกลาง"
ถ้าขี้เกียจผสมทั้งหมดลองไปสังเกตถังล้างพู่กันของเรา ใช้ไปซักพักน้ำที่ล้างก็จะออกทีเทาๆ (ฮา) 



มาถึงตอนท้ายนี้แล้ว ทำไมต้องยุ่งยากขนาดนั้น...ทำไมต้องมานั่งเรียนผสมสีเอง?
แล้วคุณจะรู้ว่า หลังจากที่คุณฝึกพื้นเหล่านี้จนชำนาญคุณจะสามารถเห็นสีที่คนอื่นอาจมองไม่เห็น
สามารถสร้างสี ผสมสี คู่สี ประกอบสี สีที่คุณคิดว่าใช่ สีที่คุณคิดว่าสวยและมันจะบ่งบอกตัวตนของคุณอีกด้วย

สีความเป็นตัวคุณคืออะไร? "สีในจินตนาการของคุณเองไง"

==========

ปล.ทิ้งท้าย ถ้าคุณสะดวกอยากผสมสีในคอม แนะนำว่ามีวิธีทำเช่นนั้นในการผสมสี(ถ้าอยากเล่นไวๆ)
คือการปรับเลเยอร์ตรงส่วนของ Opacity ก็สามารถผสมสีได้เช่นกันนะ 

แต่โดยส่วนตัวแล้วอยากแนะนำว่าลองฝึกผสมนอกจอคอมดูจะดีกว่า^^

แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม 

Thursday 15 January 2015

Basic-Skill *Composition.

Basic-Skill *Composition...
สิ่งที่มีค่าที่สุดสำหรับภาพประกอบหรือภาพวาดคืออะไร?...
มุมมอง Perspective? ,แนวคิด Idea? ,ฉาก Background? =  ลงตัว ?
ความลงตัว คือ "เรื่องราว" "สมบรูณ์" "พอดี" ?
ในเรื่องราว 1 เรื่องมีส่วนประกอบ จุดเด่น , อารมณ์ , องค์รวมทั้งหมดหรือสถานที่ = Composition
แล้วอะไรคือ  Composition.
องค์ประกอบศิลป์ (Composition) หรือเราอาจเรียกว่า ส่วนประกอบของการออกแบบ (Elements of Design) ก็ได้ หมายถึงการนำสิ่งต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกัน ตามสัดส่วน ตรงตามคุณสมบัติของสิ่งนั้นๆ เพื่อให้เกิดผลงานที่มี ความเหมาะสม ส่วนจะเกิดความงดงาม มีประโยชน์ใช้สอย น่าสนใจหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับคุณภาพ ในการ ปฏิบัติงานการออกแบบ ของเรา
เครดิต >>  Composition
*ถ้าเทียบกันในเชิง หลักภาษาก็คือการเรียงประโยคลำดับ ประธาน กิริยาและกรรม ตามลำดับ...
เทียบในเชิง หลักภาษา และ มุมมอง...
A.ประธาน = จุดเด่นที่สุดของภาพ ( สายตาของเราจะจับจ้องทันทีเมื่อแรกเห็น )
ภาษา  * เหมือนเน้นบ่งบอกเจาะจงว่าอะไร? - ฉัน เธอ ผม คุณ (ชื่อ)
อาทิ... สิ่งที่แปลกกว่าพวก , สิ่งที่ใหญ่กว่าพวก , เล็กกว่า , สิ่งที่ชัดกว่า , เบลอกว่า... ฯลฯ
B.กิริยา = สีหรือความรู้สึก ( สิ่งที่เราพยายามจะรับรู้ )
ภาษา* เหมือนท่าทางและการกระทำของคนๆนั้น - วิ่ง กระโดด เดิน ตี ว่า ด่า ฯลฯ
อาทิ...   สีหน้า , ท่าทาง ,อารมณ์...  อื่นๆ เพื่อบ่งบอกว่าทำอะไรหรือมีอะไรในนั้น...
C.กรรม = องค์ประกอบโดยรอบ ( ส่วนเติมเต็มของภาพเพื่อความสมบรูณ์ที่สุด )
ภาษา *เหมือนสิ่งของที่กำลังโดนกระทำ - คนถูกทำร้าย , สิ่งของที่โดนกระทำ ฯลฯ
อาทิ... สิ่งแวดล้อม , สถานที่ , สิ่งของ... ฯลฯ
ทั้งสาม ถ้าอย่างรวมตัวกันจะเกิดเรื่องราว... ถ้าจัดเรียงกันอย่างเหมาะสมจะเกิดความ Balance.
--------------------------------------------------------------------------
บางคน เชื่อว่า... งานภาพประกอบที่ดี คือ ภาพที่เก็บกิ๊กเนียนๆ , Full CG ,บ้าพลัง... "orz 
แต่ทำไม...บางภาพไม่ได้ตกแต่งอะไรมากมาย สีก็ธรรมดา ทำไมถึงได้ สวยมาก
ก็ขึ้นอยู่กับ... Composition ที่ดีอยู่ดี
ส่วนเรื่อง มุมมอง คอมโพส องค์รวม มุมมองที่ลงตัว?
ส่วนองค์ประกอบที่จัดคอมโพสได้สวยที่สุดซึ่งเชิงเทียบเป็นรูปทรงเลขาคณิต คือ "สามเหลี่ยม"
*****************************
ตัวอย่าง... ภาพคนเดียว
ถ้าโมนาริซ่ายกมือทั้งสองข้าง(ชูแขน) คงจะไม่เห็น BG ข้างหลังแน่ๆ "orz
ภาพคนหลายคนในภาพ
และ มุมเปอร์
ภาพนี้คือแสดงถึง มุมเปอร์และองค์ประกอบ
เป็นต้น...(เอารูปดันเต้มาเล่นชะเยอะ)Foot in mouth
-----------------------------------
ที่จริงมีอีก 108 วิธีในการกำหนดองค์ประกอบ จะฝึกด้วยตัวเองก็ได้
โดยสังเกตจากสิ่งรอบตัวหรือตัวเราเอง...
ขอบคุณจ้า...
THE END...

Basic-Shadow and light.

Shadow and  light...
ด้านรูปทรงพื้นฐาน...
ถ้าใครเคยเรียน ศิลปะ มาตั้งแต่ประถม จะพอเข้าใจว่า จะต้องผ่านจุดนี้มาทั้งหมด คราวนี้จะมาย้อนความจำ
สำหรับคนที่คืนอาจารย์ไป หรือ อยากจะแม่นกันอีกครั้ง... >>>
กำหนดรูปทรง (รู้สึกจะลืม ทรงลูกบาศก์ กับ ปริซึ่มนะ ) ตัวนี้ลองนำไปเติมเล่นๆ
ลองกำหนดแสงเล่นๆ มาจากด้านบน ผลของแสงและด้านมืดควรจะเป็นยังไง
(ดังตัวอย่าง อันนี้เป็นรูปแบบการคาดเดาแสงเงาของเจ้าของผลงานซึ่งอาจไม่ต้องเหมือนกันเปะก็ได้)
อันนี้แสงเฉียงซ้ายลงมา
***ถ้าอยากจะลองฝึกลองสูบภาพแรกของแนนไปทำเล่นๆ แบบนี้ >>

ลองไปฝึกดูเล่น ๆ นะ
แล้วค่อยไปฝึกแสงและเงาจากรูปทรงอื่น เพราะ
 **ค่าของมวลพวกนี้จะเป็นการคำนวณของสมอง ถ้าเรายิ่งแม่น เราจะยิ่งรู้ว่า ด้านมือควรจะโค้งจะเหลี่ยมตามรูปทรงขนาดไหนที่เราจะวาดเช่นไรนะเอง**
ถ้ามีพื้นฐานจุดนี้แล้ว สบายมากสำหรับการจะกะว่าเงามืดควรจะทำยังไงให้มีปริมาณและมิตินะเอง...
จุดนี้เชื่อได้นะ อาจารย์ตอนประถมเคยบอก

ปล.สำหรับใครที่คิดว่ารู้พื้นฐานตรงจุดนี้แล้ว ข้ามไปเลยจ้า


CG-Mousestep...

CG-Mousestep...

ขั้นตอนการลงสีแบบง่ายๆ
อุปกรณ์ เม้าส์หนูธรรมดา
(แสดงเป็นภาพจ้า...ลองดูสเตปสีกัน)
technic:mouse (แบบหัวตัด)  Multiply   ร่วมช่วย

นำตัวการ์ตูนที่อยากระบายสี ก็อปเลเยอร์สร้างขึ้นมา เปลี่ยนเป็น Multiply 
เพื่อให้คุณสมบัติ เป็นแผ่นใส ว่างไว้เหนือเลเยอร์ ที่เราจะลงสี
 
สร้าง 1 เลเยอร์ เพื่อไว้ลงสี
ลงตามสะดวกเลยคะ
และตามหัวข้อ ที่บอกเลเยอร์ Multiply คุณสมบัติแผ่นใส เมื่อต้องการสร้างเงา
ชะนั้นในส่วนของการลงสีชั้นที่สองแน่นอนเราต้องเปลี่ยนเลเยอร์ให้เป็น Multiply ด้วยเช่นกัน
 สังเกตได้ว่า เมื่อสร้างเลเยอร์2ขึ้นมาเปลี่ยนให้เป็น Multiply  เห็นได้ชัดว่า สีจะเข้มขึ้น โดยไม่ต้องไปหาสี ยุ่งยาก ให้เข้มขึ้น
หลังจากนั้นลงสีตามสมควร(เล่นง่ายแฮะ)
เมื่อลองแล้วได้ผล ก็เล่นเงาตามสมควรเลยคะ  
<<ขั้นแรก
 ให้ลงสีโดยรวมที่คิดว่าอยากจะลงแบบว่าชอบสีไหนใส่ไปเลยจ้า (สีสเตปที่1ในเลเยอร์แรก)
อย่าให้สีเน่าละกัน อิอิอิ  
<<สเตปที่2
 ให้หาสีที่ใกล้เคียงหรือดูดสีพื้นที่เรากำหนดมาใส่เป็นเงาสเตป 2 (เลเยอร์สีชั้นที่สองที่เป็น Multiply )
แต่ถ้าจะให้ดี ลองกำหนด แสง และเงา จะตกทางไหนแสงมาทางไหนเพื่อความสวยงามมากขึ้น

<<สเตปที่3
ทับเช่นเคยนำสีสเตปสอง เป็นเงาที่ 3 สเตป(เลเยอร์Multiply ชั้นที่สาม) นี้จะจบเลยก็ได้(เสร็จสิ้นนะเอง)  
<<สเตปที่4
ถ้ายังมีไฟอยู่ >w< ลงแสงไฮไลท์ ให้ชัดเจนขึ้น เงาผม ความมันของรองเท้าหนัง
เงาของเข็มขัด เป็นต้นจ้า ^o^
<<สเตปที่5
ถ้ายังมีไฟอยู่(ไหม้ไปครึ่งตัวแย้วY-Y) ก็เปลี่ยนสีของเส้นบางส่วนและลบบางส่วน
จบแค่สเตปนี้เท่านั้นใครคิดจะไปต่อ(ข้าพเจ้าก็ไม่หวงหรอก)

ชื่นชอบบทความนี้ 
ร่วมสนับสนุนหรือติดตามได้ที่นี่ค่ะ
https://www.facebook.com/pages/Nanshu-Art/187867251314918?fref=ts
http://beta.ookbeecomics.com/authors-and-artists/Nanshu-Sinkid/detail-page/265

ขอบคุณค่ะ